วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บทที่5 การอ่านออกเสียง


การ​ออก​เสียง​อย่าง​ถูก​ต้อง


 ปัจจัย​ต่าง ๆ ที่​ต้อง​คำนึง​ถึง.
  หลักการ​ออก​เสียง​แบบ​หนึ่ง​ใช่​ว่า​จะ​นำ​ไป​ใช้​ได้​กับ​ทุก​ภาษา. หลาย​ภาษา​มี​การ​เขียน​ใน​ระบบ​พยัญชนะ. นอก​จาก​ตัว​พยัญชนะ​ใน​ภาษา​ไทย​แล้ว ภาษา​อื่น ๆ เช่น กรีก, ซีริลลิก, ลาติน, อะระบิก, และ​ฮีบรู ก็​มี​การ​ใช้​ตัว​พยัญชนะ​เช่น​กัน. ใน​ภาษา​จีน แทน​ที่​จะ​เขียน​เป็น​พยัญชนะ ตัว​อักษร​ที่​ใช้​ใน​การ​เขียน​อาจ​ประกอบ​ด้วย​อักขระ​ย่อย​หลาย​ตัว. ตาม​ปกติ​ตัว​อักษร​เหล่า​นี้​คือ​คำ​หนึ่ง​หรือ​เป็น​ส่วน​ของ​คำ​หนึ่ง ๆ. ถึง​แม้​ภาษา​ญี่ปุ่น​และ​เกาหลี​ยืม​ตัว​อักษร​จีน​ไป​ใช้ แต่​การ​ออก​เสียง​ตัว​อักษร​นั้น​ก็​อาจ​แตกต่าง​กัน​มาก​และ​อาจ​มี​ความ​หมาย​ไม่​เหมือน​กัน.
ใน​ภาษา​ที่​ใช้​ตัว​พยัญชนะ การ​ออก​เสียง​ถูก​ต้อง​จำเป็น​ต้อง​ออก​เสียง​พยัญชนะ​แต่​ละ​ตัว​หรือ​แต่​ละ​กลุ่ม​อย่าง​ถูก​ต้อง. เมื่อ​ภาษา​นั้น​มี​กฎ​แน่นอน​ที่​ต้อง​ติด​ตาม ดัง​เช่น​ใน​ภาษา​กรีก, สเปน, และ​ซูลู การ​ออก​เสียง​ให้​ถูก​ต้อง​นั้น​จึง​ไม่​ใช่​เรื่อง​ยาก​จน​เกิน​ไป. อย่าง​ไร​ก็​ตาม อิทธิพล​จาก​ต่าง​ประเทศ​ที่​มี​ต่อ​ภาษา​หนึ่ง ๆ อาจ​มี​ผล​ต่อ​การ​ออก​เสียง​ซึ่ง​แสดง​ให้​เห็น​แหล่ง​ที่​มา​ของ​คำ​ต่าง ๆ. ผล​ก็​คือ พยัญชนะ​บาง​ตัว​หรือ​บาง​กลุ่ม​อาจ​ออก​เสียง​ได้​มาก​กว่า​หนึ่ง​วิธี หรือ​บาง​ครั้ง​อาจ​ไม่​ออก​เสียง​เลย. คุณ​อาจ​ต้อง​ท่อง​จำ​ข้อ​ยก​เว้น​เหล่า​นั้น​แล้ว​ใช้​บ่อย ๆ ใน​การ​พูด​ของ​คุณ. ใน​ภาษา​จีน การ​ออก​เสียง​ให้​ถูก​ต้อง​จำเป็น​ต้อง​จด​จำ​ตัว​อักษร​หลาย​พัน​ตัว. ใน​บาง​ภาษา ความ​หมาย​ของ​คำ​หนึ่ง​เปลี่ยน​ไป​เมื่อ​มี​การ​เปลี่ยน​ระดับ​เสียง. การ​ไม่​เอา​ใจ​ใส่​อย่าง​เพียง​พอ​ใน​แง่​มุม​นี้​ของ​ภาษา​อาจ​ทำ​ให้​ถ่ายทอด​แนว​คิด​อย่าง​ผิด ๆ ก็​ได้.
ถ้า​คำ​ใน​ภาษา​หนึ่ง​ประกอบ​ด้วย​หลาย​พยางค์ เป็น​เรื่อง​สำคัญ​ที่​จะ​อ่าน​เน้น​ให้​ถูก​พยางค์. หลาย​ภาษา​ที่​มี​โครง​สร้าง​เช่น​นั้น​มี​แบบ​แผนที่​เป็น​มาตรฐาน​พอ​สม​ควร​เกี่ยว​กับ​การ​ออก​เสียง​เน้น. ถ้า​ไม่​เป็น​ไป​ตาม​แบบ​แผน​หรือ​เป็น​กรณี​ยก​เว้น ก็​อาจ​จะ​มี​การ​ทำ​เครื่องหมาย​เน้น​เสียง​ใน​คำ​นั้น. เครื่องหมาย​นี้​ช่วย​ให้​ง่าย​ขึ้น​ที่​จะ​ออก​เสียง​อย่าง​ถูก​ต้อง. อย่าง​ไร​ก็​ตาม หาก​แบบ​แผน​นั้น​ไม่​คง​เส้น​คง​วา ปัญหา​ก็​คง​ยุ่งยาก​มาก​ขึ้น. ต้อง​อาศัย​การ​จด​จำ​อย่าง​มาก​เพื่อ​จะ​ออก​เสียง​คำ​ต่าง ๆ ได้​อย่าง​ถูก​ต้อง.
เกี่ยว​กับ​การ​ออก​เสียง​นั้น มี​หลุมพราง​บาง​อย่าง​ที่​พึง​หลีก​เลี่ยง. การ​ออก​เสียง​ชัด​ถ้อย​ชัด​คำ​มาก​เกิน​ไป​อาจ​ทำ​ให้​รู้สึก​ว่า​เป็น​การ​เสแสร้ง หรือ​อาจ​ถึง​กับ​ถูก​มอง​ว่า​เป็น​การ​วาง​ภูมิ. อาจ​กล่าว​ได้​เช่น​เดียว​กัน​กับ​การ​ออก​เสียง​แบบ​ที่​เลิก​ใช้​กัน​ไป​แล้ว. ผล​ที่​เกิด​ขึ้น​นั้น​จะ​เป็น​การ​นำ​ความ​สนใจ​มา​สู่​ผู้​พูด. ใน​อีก​ด้าน​หนึ่ง นับ​ว่า​ดี​ที่​จะ​หลีก​เลี่ยง​การ​พูด​ที่​ไม่​สนใจ​จะ​ออก​เสียง​ให้​ถูก​ต้อง​เอา​เสีย​เลย. มี​การ​พิจารณา​เรื่อง​เหล่า​นี้​ไป​บ้าง​แล้ว​ใน​บท​เรียน “การ​พูด​ให้​ชัด​ถ้อย​ชัด​คำ.”
ภาษา​หนึ่ง​อาจ​มี​การ​ใช้​พูด​กัน​ใน​หลาย​ประเทศ และ​การ​ออก​เสียง​คำ​ต่าง ๆ อัน​เป็น​ที่​ยอม​รับ​ก็​อาจ​แตกต่าง​กัน​ไป​ใน​ประเทศ​เหล่า​นั้น แม้​แต่​ใน​ประเทศ​เดียว​กัน ภูมิภาค​ต่าง ๆ ของ​ประเทศ​ก็​อาจ​ออก​เสียง​แตกต่าง​กัน. คน​ที่​มา​จาก​อีก​ประเทศ​หนึ่ง​อาจ​พูด​ภาษา​ดัง​กล่าว​ด้วย​สำเนียง​เฉพาะ​ตัว. พจนานุกรม​อาจ​บอก​วิธี​ออก​เสียง​อัน​เป็น​ที่​ยอม​รับ​มาก​กว่า​หนึ่ง​วิธี. โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง ถ้า​คน​ใด​ที่​ไม่​มี​โอกาส​เรียน​สูง หรือ​ถ้า​ภาษา​ที่​เขา​พูด​ขณะ​นี้​ไม่​ใช่​ภาษา​แม่ เขา​จะ​ได้​รับ​ประโยชน์​มาก​หาก​ตั้งใจ​ฟัง​ผู้​ที่​พูด​ภาษา​นั้น​ได้​ดี​และ​ฝึก​ออก​เสียง​แบบ​เขา. ฐานะ​เป็น​พยาน​พระ​ยะโฮวา เรา​ปรารถนา​จะ​พูด​ใน​วิธี​ที่​ทำ​ให้​ข่าวสาร​ที่​เรา​ประกาศ​มี​ศักดิ์ศรี และ​ทำ​ให้​ผู้​คน​ใน​เขต​ของ​เรา​เข้าใจ​ได้​ง่าย.
ใน​การ​สนทนา​ประจำ​วัน มัก​จะ​ดี​ที่​สุด​ที่​จะ​ใช้​คำ​ซึ่ง​คุณ​รู้​จัก​ดี. โดย​ปกติ​แล้ว คน​เรา​มัก​ไม่​มี​ปัญหา​เกี่ยว​กับ​การ​ออก​เสียง​ใน​การ​สนทนา​ทั่ว​ไป. อย่าง​ไร​ก็​ตาม เมื่อ​คุณ​อ่าน​ออก​เสียง คุณ​อาจ​พบ​บาง​คำ​ที่​คุณ​ไม่​ได้​ใช้​ใน​การ​สนทนา​ประจำ​วัน. และ​พยาน​พระ​ยะโฮวา​ต้อง​อ่าน​ออก​เสียง​บ่อย ๆ. เรา​อ่าน​คัมภีร์​ไบเบิล​ให้​ประชาชน​ฟัง​เมื่อ​เรา​ให้​คำ​พยาน​กับ​พวก​เขา. พี่​น้อง​ชาย​บาง​คน​ถูก​ขอ​ให้​อ่าน​วรรค​ต่าง ๆ ณ การ​ศึกษา​วารสาร​หอสังเกตการณ์ หรือ​การ​ศึกษา​หนังสือ​ประจำ​ประชาคม. เป็น​สิ่ง​สำคัญ​ที่​เรา​จะ​อ่าน​อย่าง​ถูก​ต้อง​และ​ไม่​ทำ​ให้​ข่าวสาร​นั้น​ด้อย​ค่า​ลง​เนื่อง​จาก​การ​ออก​เสียง​ไม่​ถูก​ต้อง.
คุณ​พบ​ว่า​มี​บาง​ชื่อ​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล​ไหม​ที่​ออก​เสียง​ยาก? ใน​ภาษา​ไทย​มี​กฎเกณฑ์​การ​อ่าน​ที่​แน่นอน การ​ออก​เสียง​สั้น​หรือ​ยาว​นั้น​ขึ้น​อยู่​กับ​รูป​สระ. ยก​ตัว​อย่าง ถ้า​คำ​นั้น​อยู่​ใน​รูป​สระ -า จะ​ออก​เสียง​ยาว เช่น กา. แต่​ถ้า​คำ​นั้น​อยู่​ใน​รูป​สระ -ะ จะ​ออก​เสียง​สั้น เช่น กะ. เมื่อ​คำ​นั้น​ลง​ท้าย​ด้วย ล จะ​ออก​เสียง​เหมือน​สะกด​ด้วย น เช่น ดานิเอล จะ​ออก​เสียง​เป็น ดา-นิ-เอน ไม่​ใช่ ดา-นิ-เอว. จำ​ต้อง​ออก​เสียง​ควบ​กล้ำ​ให้​ชัดเจน​ว่า​เป็น​ตัว ร หรือ​ตัว ล เช่น “ครับ” และ “คลับ.”
  วิธี​ปรับ​ปรุง​ให้​ดี​ขึ้น. หลาย​คน​ที่​มี​ปัญหา​ใน​การ​ออก​เสียง​ไม่​รู้​ว่า​ตัว​เอง​มี​ปัญหา​นั้น. ถ้า​ผู้​ดู​แล​โรง​เรียน​ชี้​ให้​เห็น​ว่า​คุณ​มี​ปัญหา​ใน​การ​ออก​เสียง​ที่​ต้อง​เอา​ใจ​ใส่ จง​หยั่ง​รู้​ค่า​ความ​กรุณา​ของ​เขา. เมื่อ​รู้​ปัญหา​แล้ว คุณ​จะ​ปรับ​ปรุง​ให้​ดี​ขึ้น​ได้​อย่าง​ไร?
ก่อน​อื่น เมื่อ​คุณ​ได้​รับ​มอบหมาย​ให้​อ่าน​ออก​เสียง จง​ใช้​เวลา​เพื่อ​ค้น​ดู​ใน​พจนานุกรม. จง​เปิด​ดู​คำ​ที่​ไม่​รู้​จัก. ถ้า​คุณ​ไม่​เคย​ใช้​พจนานุกรม จง​เปิด​ไป​หน้า​แรก ๆ เพื่อ​ดู​คำ​อธิบาย​วิธี​ใช้​พจนานุกรม​และ​บัญชี​อักษร​ย่อ​และ​คำ​ย่อ​ที่​ใช้​ใน​พจนานุกรม​นั้น หรือ​ถ้า​จำเป็น จง​ถาม​ใคร​สัก​คน​ที่​อธิบาย​วิธี​ใช้​แก่​คุณ​ได้. พจนานุกรม​จะ​แสดง​ให้​เห็น​วิธี​ออก​เสียง​และ​วิธี​สะกด​คำ​ต่าง ๆ. ใน​บาง​กรณี คำ​หนึ่ง​อาจ​ออก​เสียง​ได้​มาก​กว่า​หนึ่ง​วิธี ขึ้น​อยู่​กับ​คำ​แวด​ล้อม. ไม่​ว่า​คุณ​เปิด​ดู​คำ​ไหน จง​อ่าน​ออก​เสียง​คำ​นั้น​หลาย ๆ ครั้ง​ก่อน​ที่​จะ​ปิด​พจนานุกรม.
วิธี​ที่​สอง​ที่​สามารถ​ปรับ​ปรุง​การ​ออก​เสียง​ให้​ดี​ขึ้น​ได้​คือ​โดย​การ​อ่าน​ให้​ใคร​สัก​คน​ฟัง ซึ่ง​เป็น​คน​ที่​ออก​เสียง​คำ​ต่าง ๆ ได้​ดี​และ​ขอ​ให้​เขา​ช่วย​แก้ไข​เมื่อ​คุณ​ออก​เสียง​ผิด.
วิธี​ที่​สาม​ที่​จะ​ปรับ​ปรุง​การ​ออก​เสียง​คือ​โดย​การ​ตั้งใจ​ฟัง​ผู้​ที่​บรรยาย​ได้​ดี. ถ้า​มี​ตลับ​เทป​บันทึก​เสียง​พระ​คัมภีร์​ฉบับ​แปล​โลก​ใหม่ หรือ​วารสาร​หอสังเกตการณ์ และ​วารสาร​ตื่นเถิด! ใน​ภาษา​ของ​คุณ ก็​จง​ใช้​ให้​เป็น​ประโยชน์. ขณะ​ที่​ฟัง จง​สังเกต​คำ​ที่​ออก​เสียง​ต่าง​ไป​จาก​วิธี​ที่​คุณ​อ่าน. จง​จด​คำ​เหล่า​นั้น​ไว้ และ​ฝึก​พูด​คำ​เหล่า​นั้น. ใน​ที่​สุด คุณ​จะ​ออก​เสียง​ได้​ถูก​ต้อง และ​สิ่ง​นี้​จะ​ยก​ระดับ​คำ​พูด​ของ​คุณ​ได้​เป็น​อย่าง​ดี
   วิธี​ปรับ​ปรุง​การ​ออก​เสียง​ให้​ดี​ขึ้น
  • จง​เรียน​รู้​ที่​จะ​ใช้​พจนานุกรม​ให้​เป็น​ประโยชน์.
  • ขอ​ใคร​สัก​คน​ที่​อ่าน​ได้​ดี​ฟัง​คุณ​อ่าน​และ​ให้​คำ​แนะ​นำ​แก่​คุณ.
  • สังเกต​การ​ออก​เสียง​ของ​ผู้​ที่​บรรยาย​ได้​ดี; เปรียบ​เทียบ​การ​ออก​เสียง​ของ​คุณ​กับ​ของ​เขา
     อ้างอิงhttps://wol.jw.org/th/wol/d/r113/lp-si/1102001072

































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข้อสอบหลังเรียน

   ข้อสอบหลังเรียน  : วิชาภาษาไทยม.1  1.  ข้อใดจัดเป็นภาษาปาก    1. ในคอมมีอะไรให้ดูเยอะแยะ    2. การดื่มสุรามากๆ ไม่ด...