บทที่1เรื่องบทร้อยแก้ว
บทร้อยแก้ว ตาม “ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายไว้ว่า คือ ความเรียงที่สละสลวยไพเราะเหมาะเจาะด้วยเสียงและความหมายซึ่งยากกว่าการเขียนร้อยกรองนัก
บทร้อยแก้วของไทยเราที่้เป็นที่รู้จัก และน่าภาคภูมิใจ ได้แก่ ไตรภูมิพระร่วง หรือเตภูมิกถา เป็นพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) เขียนเป็นบทร้อยแก้ว เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคำสอนในพุทธศาสนา
เรื่องสามก๊ก ตอนจูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า
คัดมาจากหนังสือสามก๊กของเจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 37 ฉบับราชบัณฑิตยสภาชำระ เป็นวรรณกรรมร้อยแก้วประเภทนิทาน ที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นหนังสือที่แต่งดียอดเยี่ยมประเภทร้อยแก้วคู่กับหนังสือาชาธิราช
- ลักษณะการเขียน
เรื่องสามก๊กเป็นร้อยแก้วที่ได้รับการยกย่องว่ามีสำนวนโวหารดี ถ้อยคำภาษาเรียบเรียงไว้อย่างสละสลวย จนมีนักประพันธ์ยุคหลังได้เลียนแบบสำนวนโวหารจากเรื่องสามก๊ก ทั้งนี้เพราะว่าเป็นเรื่องที่บรรยายได้ดี และมีการดำเนินเรื่องดี ในการกล่าวถึงลักษณะนิสัยตัวละคร การสนทนา นอกจากสำนวนภาษาที่จัดว่าดีเยี่ยมแล้ว หนังสือสามก๊กยังอยู่ในความนิยมของผู้อ่านไม่ว่าจะอยู่ในสมัยใด เพราะเนื้อเรื่องของสามก๊กนั้น ไม่ว่าจะจับเอาตอนใดขึ้นมาปรับใช้กับชีวิตคนในทุกยุคทุกสมัยได้เป็นอย่างดี
- การใช้ภาษา
สามก๊กเป็นเรื่องที่มีสำนวนเฉพาะตัว ได้รับการยกย่องว่ามีสำนวนโวหารดีเยี่ยม ทั้งในการเรียบเรียงถ้อยคำที่สละสลวย และการใช้โวหารอุปมาอุปไมย บรรยายโวหาร จนถือเป็นแบบอย่างการเขียนร้อยแก้วที่ดี ถ้อยคำสำนวนต่างๆล้วนเป็นสำนวนที่ติดใจคนอ่านทุกยุคทุกสมัย
“ ห้ามผู้หญิงนุ่งกางเกงในเวลาทำงาน”
5.2 ช่วงสายตา หมายถึง จำนวนคำที่สายตากวาดไปบนตัวหนังสือทีละจุด ควรเป็น ๔-๕ คำ
การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว
การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วจะอ่านออกเสียงแบบธรรมดาเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องราว การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วนี้ใช้กันมากในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะผู้ที่มีอาชีพอ่านข่าว อ่านรายงาน อ่านบทความทางวิทยุ โทรทัศน์ หรือบุคคลที่อ่านสุนทรพจน์ เป็นต้น ผู้อ่านจะต้องอ่านให้น่าฟัง ใช้เสียงพูดธรรมดา แต่มีการเน้นถ้อยคำเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนใจและเข้าใจเรื่องราวที่อ่าน สามารถรับสารได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
หลักการอ่านร้อยแก้วมีดังนี้
1.อ่านให้น่าฟัง ผู้อ่านจะต้องลองซ้อมอ่านโดยอ่านในใจครั้งหนึ่งก่อน เพื่อให้รู้เรื่องราวที่อ่านสามารถเข้าใจบทอ่านอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้ถ่ายทอดเรื่องราวที่อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องเข้าใจความหมายของคำ ถ้อยคำ สำนวนที่อ่านเข้าใจความคิดสำคัญของเรื่องที่อ่าน จึงจะสามารถเว้นวรรคตอนการอ่านให้ถูกต้องตามเรื่องราว สามารถใช้น้ำเสียงได้น่าฟัง มีการเน้นถ้อยคำอย่างถูกต้องสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง และอ่านได้อย่างคล่องแคล่วราบรื่นไม่ตะกุกตะกัก
2.อ่านให้ถูกต้องตามอักขรวิธีหรืออ่านให้ถูกต้องตามความนิยม การอ่านเป็นเรื่องของทักษะซึ่งจะต้องมีการฝึกฝนการอ่านอยู่เสมอ โดยอ่านให้ถูกต้องตามอักขรวิธี คำบางคำอ่านตามความนิยม ผู้อ่านจะต้องทราบหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการอ่านคำต้องหมั่นสังเกตการอ่านของผู้อื่น คำใดควรอ่านอย่างไร ถ้าไม่แน่ใจควรใช้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ช่วยตัดสินการอ่าน
3.อ่านให้ชัดเจน ได้แก่ อ่านออกเสียง พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ อย่างถูกต้อง เช่น การอ่านออกเสียง ร – ล หรือคำควบกล้ำ ชัดเจน การอ่านไม่ชัดเจน นอกจากจะแสดงให้เห็นว่าผู้อ่านขาดความระมัดระวัง แล้วยังขาดการศึกษาอีกด้วย
4. อ่านมีจังหวะ แบ่งวรรคตอนให้ถูกต้อง ภาษาไทยจะต้องเว้นวรรคตอนให้ถูกที่ ผู้อ่านต้องอ่านเรื่องนั้น ๆ ให้เข้าใจเสียก่อน เพื่อจะได้แบ่งวรรคตอนได้ถูกต้อง ฝึกการอ่านให้มีวรรคตอน ผู้อ่านอาจทำเครื่องหมาย / คั่นข้อความที่เว้นวรรค ถ้าผู้อ่านอ่านผิดวรรคตอนย่อมทำให้ความหมายผิดไปด้วย เช่น
มีความหมายว่า — ในเวลาทำงานห้ามผู้หญิงนุ่งกางเกงมาทำงาน
ถ้าเว้นวรรคตอนการอ่านผิดเป็นดังนี้ “ ห้ามผู้หญิงนุ่งกางเกงใน / เวลาทำงาน” ความหมายจะเปลี่ยนไป
5. อ่านให้คล่องแคล่ว ต้องอาศัยการฝึกฝนอยู่เสมอ ไม่อ่านตะกุกตะกัก อ่านให้ต่อเนื่องกัน การอ่านให้คล่องแคล่วจะต้องรู้จักกวาดสายตาในการอ่าน ดังนี้
5.1 การจับสายตาที่ตัวอักษร สายตาจะต้องเคลื่อนไปบนตัวอักษรบนบรรทัดจากซ้ายไปขวา โดยจับสายตาไปทีละจุด จุดละ ๔ - ๕ คำ เป็นระยะ ๆ ดังนี้
5.3 การอ่านย้อนกลับ บางคนอ่านแล้วต้องอ่านย้อนกลับเพื่อให้เกิดความเข้าใจ การอ่านย้อนกลับทำให้อ่านได้ช้า
อ้างอิงhttps://i.ytimg.com/vi/wCKndakoq_k/maxresdefault.jpghttps://i.ytimg.com/vi/wCKndakoq_k/maxresdefault.jpg
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น