วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บทที่2เรื่องร้อยกรอง

                                            

                          เรื่องหลักการเขียนบทร้อยกรอง


หลักและวิธีการเเต่งบทร้อยกรอง
ร้อยกรองเป็นมรดกทางภาษาที่คนไทยควรภาคภูมิใจ และอนุรักษ์ไว้ร้อยกรองมีลักษณะบังคับที่เรียกว่า “ฉันทลักษณ์” มีความเเตกต่างกันตามลักษณะของร้อยกรองทั้ง ๕ ประเภท ได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย
ลักษณะบังคับของบทร้อยกรอง มี ๙ ประการ ดังนี้








๑. พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ การนับพยางค์ขึ้นกับลักษณะบังคับของบทร้อยกรอง
๒. คณะ คือ ข้อกำหนดของบทร้อยกรองแต่ละประเภทว่าจะต้องมีจำนวนคำ จำนวนวรรค จำนวนบาท และจำนวนบทเท่าหมด เช่นกลอนแปด
๑ บท มี ๒ บาท
๑ บาท มี ๒ วรรค
๑ วรรค มี ๘ คำ (อาจมี ๗-๙ คำก็ได้)
กาพย์ยานี
๑ บท มี ๒ บาท
๑ บาท มี ๒ วรรค
วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ
ตัวอย่าง กลอนเเปด
ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
เเม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา
สุนทรภู่
๓. สัมผัส คือ ลักษณะบังคับให้ใช้คำคล้องจองกันมี ๔ ชนิด ได้แก่
๑. สัมผัสสระ คือ คำที่ใช้สระคล้องจองเป็ฯเสียงเดียวกัน และถ้ามีตัวสะกดมาตราเดียวกัน เช่น
สระอา มา-จา-ฝา-หา-ป่า
สระโอะ สะกดแม่กน จน-คน-ฝน-หน-ป่น
สระอา สะกดเเม่เกย กราย-ชาย-ลาย-หาย-อาย
๒. สัมผัสพยัญชนะหรือสัมผัสอักษร คือ คำที่ใช้พยัญชนะต้นตัวเดียวหรือเสียงเดียวกัน โดยไม่คำนึงถึงตัวสะกด
เช่น จ – จิต ใจ จด จอด แจ๋ว
ด – เด็ก ดื่น ดึก ดื่ม ดาว
น – นก นอน แนบ น้ำ นิ่ง
๓. สัมผัสนอก คือ สัมผัสบังคับของร้อยกรองทุกประเภท เป็นคำที่มีเสียงคล้องจองจากวรรคหนึ่ง ใช้เเต่สัมผัสสระไม่ใช้สัมผัสอักษร
เช่น มาถึงบางธรณีทวีโศก ยามวิโยคยากใจให้สะอื้น
โอ้สุธาหนาเเน่นเป็นแผ่นพื้น ถึงสี่หมื่นสองเเสนทั้งเเดนไตร
เมื่อเคราะห์ร้ายกายเราก็เท่านี้ ไม่มีที่พสุธาจะอาศัย
ล้วนหนามเหน็บเจ็บเเสบคับเเคบใจ เหมือนนกไร้รังเร่อยู่เอกา ฯ
สุนทรภู่
๔. สัมผัสใน คือ คำที่มีเสียงสระหรือเสียงพยัญชนะคล้องจองในวรรคเดียวกัน ทำให้บทร้อยกรองไพเราะ เช่น
จักจั่นเเจ้วเเว่วหวีดจังหรีดหริ่ง ปี่แก้วตริ่งตรบเสียงสำเนียงหนาว
ยิ่งเย็นฉ่ำน้ำค้างลงพร่าวพราว พระพายผ่าวพัดไหวทุกใบโพธิ์
สุนทรภู่
สัมผัสสระ เเจ้ว-แว่ว, หวีด-หรีด, เสียง-เนียง, ฉ่ำ-น้ำ, ไหว-ใบ
สัมผัสอักษร จัก-จั่น-เเจ้ว, หวีด-หริ่ง, ยิ่ง-เย็น, พร่าว-พราว
คำครุ-ลหุ คือ คำที่ที่เสียงหนักและเสียงเบา บังคับใช้ในบทร้อยกรองประเภทฉันท์
คำครุ มี ๓ ลักษณะ ดังนี้
๑. คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในเเม่ ก กา เช่น เเม่จ๋า ฟ้าใส
๒. คำที่มีตัวสะกด เช่น เด็กน้อย เขียนอ่าน
๓. คำที่ประสมด้วย อำ ไอ ใอ เอา เช่น ขำ ได้ ให้ เขา
คำลหุ คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในเเม่ ก กา
เช่น กระทะ กะทิ ปะทุ สติ อริ กระบะ ขยะ
ตัวอย่าง คำประพันธ์ที่บังคับครุ ลหุ
เเสงสูรย์สาดส่องเเสง จรัสเเจ้งจรูญตา
เทียนทองส่องทาบฟ้า ประโลมหล้าภิรมย์ชม
ชวนคิดให้ไตร่ตรอง นราผอง ณ ยามตรม
ตกอับทุกข์ทับถม บ ฝังจมเสมอไป
ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา
๕. คำเอก คำโท คือ คำหรือพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอกและโท ในตำแหน่งที่กำหนดไว้ในบทร้อยกรองประเภทโคลง และร่าย
– คำเอก คือ คำหรือพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอก
– คำโท คือ คำหรือพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์โท
๖. คำเป็น คำตาย เป็นลักษณะบังคับที่ใช้ในการเเต่งโคลง และร่าย โดยเฉพาะโคลงสี่สุภาพ
คำเป็น มี ๓ ลักษณะ คือ
๑. คำหรือพยางค์ที่ประสมสระเสียงยาวในเเม่ ก กา
๒. คำที่มีตัวสะกดในมาตราเเม่ กง กน กม เกย เกอว
๓. คำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา
คำตาย มี ๒ ลักษณะ คือ
๑. คำที่ประสมสระเสียงสั้นในเเม่ ก กา
๒. คำที่มีตัวสะกดในมาตราแม่ กก กด กบ
๗. เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา ในการเขียนกลอนต้องรู้ว่าคำท้ายวรรคใดนิยมใช้หรือไม่นิยมใช้เสียงวรรณยุกต์ใด สำหรับโคลงสี่สุภาพมีการบังคับเอกโทด้วย เช่น
เดินไพรชมหมู่ไม้ มากมี
พักผ่อนอารมณ์ดี ใช่น้อย
บุฟผากลิ่มรมณีย์ เเสนชื่น
ยามบ่ายตะวันคล้อย ร่มแท้ราวไพร
จตุภูมิ วงษ์แก้ว
๘. คำนำ คือ คำขึ้นต้นสำหรับร้อยกรองบางประเภท
กลอนบทละคร คำว่า เมื่อนั้น บัดนั้น
ตัวอย่าง บัดนั้นพระยาเภกพิยักษี
เห็นพระองค์ทรงโศกโศกี
กลอนดอกสร้อย คำว่าเอ๋ย (เป็นคำที่ ๒ ของวรรคเเรก)
ตัวอย่าง เด็กเอ๋ยเด็กน้อย
ความรู้เรายังด้อยเร่งศึกษา
กลอนเสภา คำว่า ครานั้น
ตัวอย่าง ครานั้นท่านยายทองประศรี
กับยายปลียายเปลอยู่เคหา
นิทานคำกลอน ไม่บังคับ

เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ภาษาไทย ป.๖. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข้อสอบหลังเรียน

   ข้อสอบหลังเรียน  : วิชาภาษาไทยม.1  1.  ข้อใดจัดเป็นภาษาปาก    1. ในคอมมีอะไรให้ดูเยอะแยะ    2. การดื่มสุรามากๆ ไม่ด...