วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ข้อสอบหลังเรียน

  

ข้อสอบหลังเรียน : วิชาภาษาไทยม.1 


1.
 ข้อใดจัดเป็นภาษาปาก
   1.
ในคอมมีอะไรให้ดูเยอะแยะ
   2.
การดื่มสุรามากๆ ไม่ดีต่อสุขภาพ
   3.
คนจนในสังคมทุกวันนี้มีมากมายกว่าคนรวย
   4.
หนูไม่เห็นว่าการซอยผมสั้นจะเสียหายตรงไหน

2.
 ข้อใดเป็นการพูดที่ก่อให้เกิดมิตรไมตรี
   1.
คุณป้า ดูท่าทางจะถือของหนัก หนูจะช่วยถือนะคะ
   2.
ป้า ส่งของมา เดี๋ยวถือให้
   3.
เอาของมาจะถือให้ ทำไมดื้อจริงป้านี่
   4.
บอกกี่ครั้งแล้วไม่ให้ถือของหนัก ป้าไม่ฟังกันเลย

3.
 หัวข้อเรื่องในข้อใดเป็นหัวข้อเรื่องสนทนาที่ดี
   1.
การเมือง
   2.
การปกครอง
   3.
ศาสนา
   4.
ลมฟ้าอากาศ

4.
 ข้อใดไม่เป็นการดูอย่างมีมารยาท
   1.
วิจารณ์ตามใจถ้าไม่ชอบ
   2.
ไม่สูบบุหรี่ในขณะดู
   3.
ตั้งใจดูอย่างสนใจ
   4.
ไม่ดูแล้วเล่าเรื่องล่วงหน้า

5.
 ข้อใดคือช่วงเวลาที่เหมาะสมกับนักเรียนที่จะดูรายการทางสถานีโทรทัศน์
   1.
๑๖.๓๐ – ๒๐.๐๐ น.
   2.
๑๗.๐๐ – ๒๑.๐๐ น.
   3.
๑๗.๐๐ – ๒๒.๐๐ น.
   4.
๑๖.๓๐ – ๒๓.๓๐ น.

6.
 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของดาวจระเข้
   1.
เป็นกลุ่มดาวมี ๗ ดวง
   2.
ปรากฏให้เห็นเวลาค่ำเดือน พ.ค., มิ.ย.
   3.
ลักษณะเหมือนกระบวยตักน้ำ
   4.
จะมองเห็นส่วนหางดาวจระเข้ก่อนส่วนหัว

7.
 ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์ในการท่องบทอาขยาน
   1.
ให้ตระหนักในคุณค่าของภาษาไทย
   2.
ให้เป็นพื้นฐานในการแต่งคำประพันธ์
   3.
เพื่อถ่ายทอดคุณธรรม คติธรรม แก่เยาวชน
   4.
เพื่อความเพลิดเพลินและนำไปประกอบการพูด

8.
 ข้อใดกล่าวเปรียบเทียบไม่ถูกต้อง
   1.
คำพูดของสาธุชนเปรียบเหมือนงาช้าง
   2.
คนขยันเรียนเหมือนกับฝนทั่งให้เป็นเข็ม
   3.
ความรู้เปรียบได้กับสินทรัพย์
   4.
จิตใจมนุษย์หยั่งยากเหมือนฟากฟ้า

9.
 สิรีจะปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องออกไปพูดรายงานหน้าชั้นเรียน
   1.
แนะนำตัวแล้วเริ่มรายงาน
   2.
แนะนำตัว บอกหัวข้อรายงาน เริ่มรายงาน
   3.
แนะนำตัว เริ่มรายงาน สรุปหัวข้อรายงาน
   4.
บอกหัวข้อรายงาน แนะนำตัว เริ่มรายงาน

10.
 ข้อใดไม่ใช่มารยาทที่ดีในการพูด

1.
พูดด้วยวาจาสุภาพ หน้าตายิ้มแย้ม
   2.
รักษาอารมณ์ในการพูดให้เป็นปกติ
   3.
พูดดังๆ เพื่อให้ผู้ฟังตั้งใจฟัง

4.
ไม่พูดยกตนข่มท่าน

11.
 ข้อใดเป็นคำเชิญชวน

1.
โปรดอย่าเดินลัดสนาม

2.
ห้ามทิ้งขยะลงในแม่น้ำลำคลอง

3.
กรุณาลดเสียง

4.
ช่วยกันประหยัดวันนี้เพื่อชีวิตที่ดีในวันหน้า

12.
ข้อใดผู้พูดพูดได้เหมาะสมที่สุด





1.
เป็นไงสอบตกอีกแล้วเหรอ

2.
ถ้าเธออ่านหนังสือมากกว่านี้เธอก็ได้คะแนนดีเหมือนกัน

3.
เธอนี่สอนเท่าไหร่ไม่รู้จักจำ

4.
ผู้หญิงคนนี้แต่งตัวเหมือนกาคาบพริก 
                 

บทที่5 การอ่านออกเสียง


การ​ออก​เสียง​อย่าง​ถูก​ต้อง


 ปัจจัย​ต่าง ๆ ที่​ต้อง​คำนึง​ถึง.
  หลักการ​ออก​เสียง​แบบ​หนึ่ง​ใช่​ว่า​จะ​นำ​ไป​ใช้​ได้​กับ​ทุก​ภาษา. หลาย​ภาษา​มี​การ​เขียน​ใน​ระบบ​พยัญชนะ. นอก​จาก​ตัว​พยัญชนะ​ใน​ภาษา​ไทย​แล้ว ภาษา​อื่น ๆ เช่น กรีก, ซีริลลิก, ลาติน, อะระบิก, และ​ฮีบรู ก็​มี​การ​ใช้​ตัว​พยัญชนะ​เช่น​กัน. ใน​ภาษา​จีน แทน​ที่​จะ​เขียน​เป็น​พยัญชนะ ตัว​อักษร​ที่​ใช้​ใน​การ​เขียน​อาจ​ประกอบ​ด้วย​อักขระ​ย่อย​หลาย​ตัว. ตาม​ปกติ​ตัว​อักษร​เหล่า​นี้​คือ​คำ​หนึ่ง​หรือ​เป็น​ส่วน​ของ​คำ​หนึ่ง ๆ. ถึง​แม้​ภาษา​ญี่ปุ่น​และ​เกาหลี​ยืม​ตัว​อักษร​จีน​ไป​ใช้ แต่​การ​ออก​เสียง​ตัว​อักษร​นั้น​ก็​อาจ​แตกต่าง​กัน​มาก​และ​อาจ​มี​ความ​หมาย​ไม่​เหมือน​กัน.
ใน​ภาษา​ที่​ใช้​ตัว​พยัญชนะ การ​ออก​เสียง​ถูก​ต้อง​จำเป็น​ต้อง​ออก​เสียง​พยัญชนะ​แต่​ละ​ตัว​หรือ​แต่​ละ​กลุ่ม​อย่าง​ถูก​ต้อง. เมื่อ​ภาษา​นั้น​มี​กฎ​แน่นอน​ที่​ต้อง​ติด​ตาม ดัง​เช่น​ใน​ภาษา​กรีก, สเปน, และ​ซูลู การ​ออก​เสียง​ให้​ถูก​ต้อง​นั้น​จึง​ไม่​ใช่​เรื่อง​ยาก​จน​เกิน​ไป. อย่าง​ไร​ก็​ตาม อิทธิพล​จาก​ต่าง​ประเทศ​ที่​มี​ต่อ​ภาษา​หนึ่ง ๆ อาจ​มี​ผล​ต่อ​การ​ออก​เสียง​ซึ่ง​แสดง​ให้​เห็น​แหล่ง​ที่​มา​ของ​คำ​ต่าง ๆ. ผล​ก็​คือ พยัญชนะ​บาง​ตัว​หรือ​บาง​กลุ่ม​อาจ​ออก​เสียง​ได้​มาก​กว่า​หนึ่ง​วิธี หรือ​บาง​ครั้ง​อาจ​ไม่​ออก​เสียง​เลย. คุณ​อาจ​ต้อง​ท่อง​จำ​ข้อ​ยก​เว้น​เหล่า​นั้น​แล้ว​ใช้​บ่อย ๆ ใน​การ​พูด​ของ​คุณ. ใน​ภาษา​จีน การ​ออก​เสียง​ให้​ถูก​ต้อง​จำเป็น​ต้อง​จด​จำ​ตัว​อักษร​หลาย​พัน​ตัว. ใน​บาง​ภาษา ความ​หมาย​ของ​คำ​หนึ่ง​เปลี่ยน​ไป​เมื่อ​มี​การ​เปลี่ยน​ระดับ​เสียง. การ​ไม่​เอา​ใจ​ใส่​อย่าง​เพียง​พอ​ใน​แง่​มุม​นี้​ของ​ภาษา​อาจ​ทำ​ให้​ถ่ายทอด​แนว​คิด​อย่าง​ผิด ๆ ก็​ได้.
ถ้า​คำ​ใน​ภาษา​หนึ่ง​ประกอบ​ด้วย​หลาย​พยางค์ เป็น​เรื่อง​สำคัญ​ที่​จะ​อ่าน​เน้น​ให้​ถูก​พยางค์. หลาย​ภาษา​ที่​มี​โครง​สร้าง​เช่น​นั้น​มี​แบบ​แผนที่​เป็น​มาตรฐาน​พอ​สม​ควร​เกี่ยว​กับ​การ​ออก​เสียง​เน้น. ถ้า​ไม่​เป็น​ไป​ตาม​แบบ​แผน​หรือ​เป็น​กรณี​ยก​เว้น ก็​อาจ​จะ​มี​การ​ทำ​เครื่องหมาย​เน้น​เสียง​ใน​คำ​นั้น. เครื่องหมาย​นี้​ช่วย​ให้​ง่าย​ขึ้น​ที่​จะ​ออก​เสียง​อย่าง​ถูก​ต้อง. อย่าง​ไร​ก็​ตาม หาก​แบบ​แผน​นั้น​ไม่​คง​เส้น​คง​วา ปัญหา​ก็​คง​ยุ่งยาก​มาก​ขึ้น. ต้อง​อาศัย​การ​จด​จำ​อย่าง​มาก​เพื่อ​จะ​ออก​เสียง​คำ​ต่าง ๆ ได้​อย่าง​ถูก​ต้อง.
เกี่ยว​กับ​การ​ออก​เสียง​นั้น มี​หลุมพราง​บาง​อย่าง​ที่​พึง​หลีก​เลี่ยง. การ​ออก​เสียง​ชัด​ถ้อย​ชัด​คำ​มาก​เกิน​ไป​อาจ​ทำ​ให้​รู้สึก​ว่า​เป็น​การ​เสแสร้ง หรือ​อาจ​ถึง​กับ​ถูก​มอง​ว่า​เป็น​การ​วาง​ภูมิ. อาจ​กล่าว​ได้​เช่น​เดียว​กัน​กับ​การ​ออก​เสียง​แบบ​ที่​เลิก​ใช้​กัน​ไป​แล้ว. ผล​ที่​เกิด​ขึ้น​นั้น​จะ​เป็น​การ​นำ​ความ​สนใจ​มา​สู่​ผู้​พูด. ใน​อีก​ด้าน​หนึ่ง นับ​ว่า​ดี​ที่​จะ​หลีก​เลี่ยง​การ​พูด​ที่​ไม่​สนใจ​จะ​ออก​เสียง​ให้​ถูก​ต้อง​เอา​เสีย​เลย. มี​การ​พิจารณา​เรื่อง​เหล่า​นี้​ไป​บ้าง​แล้ว​ใน​บท​เรียน “การ​พูด​ให้​ชัด​ถ้อย​ชัด​คำ.”
ภาษา​หนึ่ง​อาจ​มี​การ​ใช้​พูด​กัน​ใน​หลาย​ประเทศ และ​การ​ออก​เสียง​คำ​ต่าง ๆ อัน​เป็น​ที่​ยอม​รับ​ก็​อาจ​แตกต่าง​กัน​ไป​ใน​ประเทศ​เหล่า​นั้น แม้​แต่​ใน​ประเทศ​เดียว​กัน ภูมิภาค​ต่าง ๆ ของ​ประเทศ​ก็​อาจ​ออก​เสียง​แตกต่าง​กัน. คน​ที่​มา​จาก​อีก​ประเทศ​หนึ่ง​อาจ​พูด​ภาษา​ดัง​กล่าว​ด้วย​สำเนียง​เฉพาะ​ตัว. พจนานุกรม​อาจ​บอก​วิธี​ออก​เสียง​อัน​เป็น​ที่​ยอม​รับ​มาก​กว่า​หนึ่ง​วิธี. โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง ถ้า​คน​ใด​ที่​ไม่​มี​โอกาส​เรียน​สูง หรือ​ถ้า​ภาษา​ที่​เขา​พูด​ขณะ​นี้​ไม่​ใช่​ภาษา​แม่ เขา​จะ​ได้​รับ​ประโยชน์​มาก​หาก​ตั้งใจ​ฟัง​ผู้​ที่​พูด​ภาษา​นั้น​ได้​ดี​และ​ฝึก​ออก​เสียง​แบบ​เขา. ฐานะ​เป็น​พยาน​พระ​ยะโฮวา เรา​ปรารถนา​จะ​พูด​ใน​วิธี​ที่​ทำ​ให้​ข่าวสาร​ที่​เรา​ประกาศ​มี​ศักดิ์ศรี และ​ทำ​ให้​ผู้​คน​ใน​เขต​ของ​เรา​เข้าใจ​ได้​ง่าย.
ใน​การ​สนทนา​ประจำ​วัน มัก​จะ​ดี​ที่​สุด​ที่​จะ​ใช้​คำ​ซึ่ง​คุณ​รู้​จัก​ดี. โดย​ปกติ​แล้ว คน​เรา​มัก​ไม่​มี​ปัญหา​เกี่ยว​กับ​การ​ออก​เสียง​ใน​การ​สนทนา​ทั่ว​ไป. อย่าง​ไร​ก็​ตาม เมื่อ​คุณ​อ่าน​ออก​เสียง คุณ​อาจ​พบ​บาง​คำ​ที่​คุณ​ไม่​ได้​ใช้​ใน​การ​สนทนา​ประจำ​วัน. และ​พยาน​พระ​ยะโฮวา​ต้อง​อ่าน​ออก​เสียง​บ่อย ๆ. เรา​อ่าน​คัมภีร์​ไบเบิล​ให้​ประชาชน​ฟัง​เมื่อ​เรา​ให้​คำ​พยาน​กับ​พวก​เขา. พี่​น้อง​ชาย​บาง​คน​ถูก​ขอ​ให้​อ่าน​วรรค​ต่าง ๆ ณ การ​ศึกษา​วารสาร​หอสังเกตการณ์ หรือ​การ​ศึกษา​หนังสือ​ประจำ​ประชาคม. เป็น​สิ่ง​สำคัญ​ที่​เรา​จะ​อ่าน​อย่าง​ถูก​ต้อง​และ​ไม่​ทำ​ให้​ข่าวสาร​นั้น​ด้อย​ค่า​ลง​เนื่อง​จาก​การ​ออก​เสียง​ไม่​ถูก​ต้อง.
คุณ​พบ​ว่า​มี​บาง​ชื่อ​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล​ไหม​ที่​ออก​เสียง​ยาก? ใน​ภาษา​ไทย​มี​กฎเกณฑ์​การ​อ่าน​ที่​แน่นอน การ​ออก​เสียง​สั้น​หรือ​ยาว​นั้น​ขึ้น​อยู่​กับ​รูป​สระ. ยก​ตัว​อย่าง ถ้า​คำ​นั้น​อยู่​ใน​รูป​สระ -า จะ​ออก​เสียง​ยาว เช่น กา. แต่​ถ้า​คำ​นั้น​อยู่​ใน​รูป​สระ -ะ จะ​ออก​เสียง​สั้น เช่น กะ. เมื่อ​คำ​นั้น​ลง​ท้าย​ด้วย ล จะ​ออก​เสียง​เหมือน​สะกด​ด้วย น เช่น ดานิเอล จะ​ออก​เสียง​เป็น ดา-นิ-เอน ไม่​ใช่ ดา-นิ-เอว. จำ​ต้อง​ออก​เสียง​ควบ​กล้ำ​ให้​ชัดเจน​ว่า​เป็น​ตัว ร หรือ​ตัว ล เช่น “ครับ” และ “คลับ.”
  วิธี​ปรับ​ปรุง​ให้​ดี​ขึ้น. หลาย​คน​ที่​มี​ปัญหา​ใน​การ​ออก​เสียง​ไม่​รู้​ว่า​ตัว​เอง​มี​ปัญหา​นั้น. ถ้า​ผู้​ดู​แล​โรง​เรียน​ชี้​ให้​เห็น​ว่า​คุณ​มี​ปัญหา​ใน​การ​ออก​เสียง​ที่​ต้อง​เอา​ใจ​ใส่ จง​หยั่ง​รู้​ค่า​ความ​กรุณา​ของ​เขา. เมื่อ​รู้​ปัญหา​แล้ว คุณ​จะ​ปรับ​ปรุง​ให้​ดี​ขึ้น​ได้​อย่าง​ไร?
ก่อน​อื่น เมื่อ​คุณ​ได้​รับ​มอบหมาย​ให้​อ่าน​ออก​เสียง จง​ใช้​เวลา​เพื่อ​ค้น​ดู​ใน​พจนานุกรม. จง​เปิด​ดู​คำ​ที่​ไม่​รู้​จัก. ถ้า​คุณ​ไม่​เคย​ใช้​พจนานุกรม จง​เปิด​ไป​หน้า​แรก ๆ เพื่อ​ดู​คำ​อธิบาย​วิธี​ใช้​พจนานุกรม​และ​บัญชี​อักษร​ย่อ​และ​คำ​ย่อ​ที่​ใช้​ใน​พจนานุกรม​นั้น หรือ​ถ้า​จำเป็น จง​ถาม​ใคร​สัก​คน​ที่​อธิบาย​วิธี​ใช้​แก่​คุณ​ได้. พจนานุกรม​จะ​แสดง​ให้​เห็น​วิธี​ออก​เสียง​และ​วิธี​สะกด​คำ​ต่าง ๆ. ใน​บาง​กรณี คำ​หนึ่ง​อาจ​ออก​เสียง​ได้​มาก​กว่า​หนึ่ง​วิธี ขึ้น​อยู่​กับ​คำ​แวด​ล้อม. ไม่​ว่า​คุณ​เปิด​ดู​คำ​ไหน จง​อ่าน​ออก​เสียง​คำ​นั้น​หลาย ๆ ครั้ง​ก่อน​ที่​จะ​ปิด​พจนานุกรม.
วิธี​ที่​สอง​ที่​สามารถ​ปรับ​ปรุง​การ​ออก​เสียง​ให้​ดี​ขึ้น​ได้​คือ​โดย​การ​อ่าน​ให้​ใคร​สัก​คน​ฟัง ซึ่ง​เป็น​คน​ที่​ออก​เสียง​คำ​ต่าง ๆ ได้​ดี​และ​ขอ​ให้​เขา​ช่วย​แก้ไข​เมื่อ​คุณ​ออก​เสียง​ผิด.
วิธี​ที่​สาม​ที่​จะ​ปรับ​ปรุง​การ​ออก​เสียง​คือ​โดย​การ​ตั้งใจ​ฟัง​ผู้​ที่​บรรยาย​ได้​ดี. ถ้า​มี​ตลับ​เทป​บันทึก​เสียง​พระ​คัมภีร์​ฉบับ​แปล​โลก​ใหม่ หรือ​วารสาร​หอสังเกตการณ์ และ​วารสาร​ตื่นเถิด! ใน​ภาษา​ของ​คุณ ก็​จง​ใช้​ให้​เป็น​ประโยชน์. ขณะ​ที่​ฟัง จง​สังเกต​คำ​ที่​ออก​เสียง​ต่าง​ไป​จาก​วิธี​ที่​คุณ​อ่าน. จง​จด​คำ​เหล่า​นั้น​ไว้ และ​ฝึก​พูด​คำ​เหล่า​นั้น. ใน​ที่​สุด คุณ​จะ​ออก​เสียง​ได้​ถูก​ต้อง และ​สิ่ง​นี้​จะ​ยก​ระดับ​คำ​พูด​ของ​คุณ​ได้​เป็น​อย่าง​ดี
   วิธี​ปรับ​ปรุง​การ​ออก​เสียง​ให้​ดี​ขึ้น
  • จง​เรียน​รู้​ที่​จะ​ใช้​พจนานุกรม​ให้​เป็น​ประโยชน์.
  • ขอ​ใคร​สัก​คน​ที่​อ่าน​ได้​ดี​ฟัง​คุณ​อ่าน​และ​ให้​คำ​แนะ​นำ​แก่​คุณ.
  • สังเกต​การ​ออก​เสียง​ของ​ผู้​ที่​บรรยาย​ได้​ดี; เปรียบ​เทียบ​การ​ออก​เสียง​ของ​คุณ​กับ​ของ​เขา
     อ้างอิงhttps://wol.jw.org/th/wol/d/r113/lp-si/1102001072

































































บทที่4 การเขียนจดหมาย

                              การเขียนจดหมาย 

       ในปัจจุบัน โลกมีการพัฒนาการสื่อสารทางโทรคมนาคมได้สะดวก และรวดเร็ว แต่การสื่อสารอีกชนิดที่ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งก็คือ การเขียนจดหมาย เพราะสามารถเขียนได้ทุกเวลา ทุกโอกาส เก็บไว้ได้นาน จดหมายของบุคคลสำคัญจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในอนาคต และจดหมายที่เขียนดีมีคุณค่าก็อาจเป็นวรรณกรรมได้
หลักการเขียนจดหมาย
การเขียนจดหมายควรยึดหลักสำคัญ ดังต่อไปนี้

ขนาดซอง

   การใช้ซองขนาดมาตรฐาน ปัจจุบันที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งจะมีซองจดหมายจำหน่าย นับว่าเป็นซองที่มีขนาดเหมาะสม โดยทั่วไปมี ๒ แบบ ดังนี้
      ๑.  ซองสั้น มีขนาด ๓.๕ x ๖ นิ้ว ถึง ๔.๕ x ๗ นิ้ว
      ๒.  ซองยาวมีขนาด ๔.๒๕ x ๙ นิ้ว

การจ่าหน้าซอง

มีหลักการ ดังนี้
๑  ที่อยู่ของผู้รับ ต้องเรียงลำดับจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ ได้แก่ 
   -  ที่ นามสกุลของผู้รับ ถ้าเป็นจดหมายสำคัญ เช่น มีธนาณัติสอดอยู่ด้วย ต้องระบุคำนำหน้าชื่อผู้รับ
   -  บ้านเลขที่ ซอย หรือตำบล
   -  ถนนที่ตั้ง
   -  ตำบลหรือเเขวง
   -  อำเภอหรือเขต
   -  จังหวัดและรหัสไปรษณีย์
๒. ที่อยู่ของผู้ส่ง เรียงลำดับเช่นเดียวกับผู้รับ จะเขียนไว้ด้านบนซ้ายของตนเอง
๓. คำขึ้นต้น 
   -  ถ้าเป็นจดหมายส่วนตัว อาจใช้คำว่า "กรุณาส่ง" หรือ "นามผู้รับ" 
   -  ถ้าเป็นจดหมายราชการหรือจดหมายธุรกิจนิยมใช้ "เรียน"
   -  จดหมายถึงพระสงฆ์ทั่วไปใช้ "นมัสการ"
๔. เเสตมป์ ต้องติดสเเตมป์ตามราคาที่กรมไปรษณีย์ฯ กำหนด เพราะถ้าติดไม่ครบ ผู้รับจะถูกปรับเป็น ๒ เท่าของราคาเเสตมป์ที่ขาดไป
การเขียนตามเเบบแผนที่นิยม
ลักษณะการเขียนจดหมายตามเเบบเเผนที่นิยม ได้แก่
๑.  คำขึ้นต้น ต้องเหมาะแก่ฐานะและตำแหน่งหน้าที่
๒.  การวางรูปแบบจดหมาย ควรจัดวางให้มีสัดส่วนพอเหมาะกับหน้ากระดาษ โดยเว้นด้านหน้าประมาณ ๑ นิ้ว และเว้นด้านหลังประมาณครึ่งนิ้ว
๓.  สำนวนภาษาที่ใช้ในการเขียน ต้องคำนึงถึงความสุภาพ เขียนถูกต้องเหมาะแก่ฐานะ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
๕.  ถ้าต้องการอวยพรให้เพื่อนหรือญาติผู้ใหญ่ในตอนท้ายของจดหมาย ควรอ้างถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ เพื่อทำให้คำอวยพรมีความขลังและสละสลวย
๖. คำลงท้าย ต้องใช้ให้ถูกต้องเเละเหมาะแก่ฐานะและบุคคล
รูปแบบของจดหมาย
๑.  รูปแบบของการวางรูปจดหมาย
     ๑.๑  ที่อยู่ของผู้เขียน อยู่ตรงมุมบนขวาของหน้ากระดาษ โดยเริ่มเขียนจากกึ่งกลางหน้ากระดาษ โดยเริ่มเขียนจากประมาณกึ่งกลางหน้ากระดาษ
     ๑.๒  วันเดือนปี เขียนเยื้องที่อยู่ผู้เขียนมาข้างหน้าเล็กน้อย
     ๑.๓  คำขึ้นต้น อยู่ด้านซ้ายห่างจากขอบกระดาษประมาณ ๑ นิ้ว และเป็นเเนวชิดด้านซ้ายสุดของเนื้อความ
     ๑.๔  เนื้อความ เริ่มเขียนโดยย่อหน้าเล็กน้อย และควรขึ้นย่อหน้าใหม่เมื่อขึ้นเนื้อความใหม่ นอกจากนี้ต้องเว้นวรรคตอนให้ถูกต้องด้วย
     ๑.๕  คำลงท้าย อยู่ตรงกับวันเดือนปีที่เขียน
     ๑.๖  ชื่อผู้เขียน เยื้องลงมาทางขวามือ ถ้าเขียนจดหมายถึงบุคคลที่ไม่คุ้ยเคย ควรวงเล็บชื่อที่เขียนเป็นตัวบรรจงด้วย ถ้าเป็นจดหมายราชการต้องบอกยศตำแหน่งของผู้ส่งด้วย
รูปแบบของจดหมาย
                                                                                                                              (ที่อยู่ผู้เขียน)......................
                                                      (วันที่)......................(เดือน)....................(พ.ศ.)......................
(คำขึ้นต้น)...................................
(เนื้อความ)................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
                                                      (คำลงท้าย)...........................................
                                                       ชื่อผู้เขียน)..........................

รูปแบบของคำขึ้นต้น สรรพนาม คำลงท้าย
ในการเขียนจดหมายต้องคำนึงถึงการเขียนคำขึ้นต้น คำลงท้าย และสรรพนามให้ถูกต้อง ดังนี้
ผู้รับ คุณพ่อ,คุณเเม่
คำขึ้นต้น กราบเท้า...ที่เคารพอย่างสูง
สรรพนาม (ผู้เขียน) ลูก, หนู, ผม, กระผม, ดิฉัน หรือใช้ชื่อเล่นเเทน
สรรพนาม (ผู้รับ) คุณพ่อ คุณเเม่
คำลงท้าย ด้วยความเคารพรักอย่างสูง
ผู้รับ ญาติผู้ใหญ่
คำขึ้นต้น กราบเท้า....ที่เคารพอย่างสูง หรือ กราบเรียน...ที่เคารพอย่างสูง
สรรพนาม (ผู้เขียน) หลาน, ผม, กระผม, ดิฉัน, หนู, หรือใช้ชื่อเล่นแทน
สรรพนาม (ผู้รับ) คุณปู่, คุณย่า, คุณตา, คุณยาย, คุณลุง, คุณป้า, คุณน้า, คุณอา
คำลงท้าย ด้วยความเคารพอย่างสูง
ผู้รับ พี่หรือเพื่อนที่อาวุโสกว่า
คำขึ้นต้น เรียนคุณพี่ที่เคารพ หรือ กราบ...ที่เคารพ
สรรพนาม (ผู้เขียน) น้อง, ผม, ดิฉัน, หนู, หรืออาจใช้ชื่อเล่นเเทน
สรรพนาม (ผู้รับ) คุณพี่, คุณ ...
คำลงท้าย ด้วยความเคารพ, ด้วยความเคารพรัก
ผู้รับ น้อง หรือเพื่อน
คำขึ้นต้น ...น้องรัก หรือ คุณ ... ที่รัก หรือ (ชื่อเล่น) ที่รัก
สรรพนาม (ผู้เขียน) ฉัน พี่
สรรพนาม (ผู้รับ) เธอ, คุณ, น้อง
คำลงท้าย ด้วยความรัก, ด้วยความรักยิ่ง, รักเเละคิดถึง
ผู้รับ บุคคลทั่วไป
คำขึ้นต้น เรียนคุณ...ที่นับถือ หรือ เรียนผู้จัดการบริษัท ... จำกัด
สรรพนาม (ผู้เขียน) ผม, ดิฉัน
สรรพนาม ผู้รับ) คุณ, ท่าน
คำลงท้าย ของเเสดงความนับถือ
ผู้รับ พระภิกษุทั่วไป
คำขึ้นต้น นมัสการ...
สรรพนาม (ผู้เขียน) ผม,กระผม, ดิฉัน
สรรพนาม (ผู้รับ) ท่าน, พระคุณท่าน, ใต้เท้า, พระคุณเจ้า
คำลงท้าย ขอนมัสการมาด้วยความเคารพอย่างสูง

ตัวอย่าง จดหมายลาครู
                                                                                                                        ๑๓๒/๑๒ ถนนพระรามที่ ๖
                                                                                                                         เเขวงสามเสนใน เขตพญาไท
                                                                                                                         กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
                                                                  
                                                                    ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๐

เรียน อาจารย์ที่ปรึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖/๑

                   เนื่องจากดิฉันได้ลื่นหกล้มที่บ้าน  ตั้งเเต่เย็นวันเสาร์ที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๐ ดิฉันมีอาการเจ็บปวด และข้อเท้าบวมมาก วันรุ่งขึ้นได้ไปตรวจที่โรงพยาบาล หมอบอกว่าเอ็นข้อเท้าขาด ขอให้หยุดเดิน และพักรักษาตัวประมาณ ๑ สัปดาห์
                   ดิฉันจึงเรียนมาเพื่อขออนุญาตลาป่วย เป็นเวลา ๓ วัน ตั้งเเต่วันที่ ๑๘ สิงหาคม ถึง วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๐ เมื่อครบกำหนดเเล้ว ดิฉันจะมาเรียนตามปกติ
 
                                                                   ด้วยความเคารพอย่างสูง
                                                                      พิริยา ราชธารินทร์

                                            ขอรับรองว่าข้อความที่เด็กหญิงพิริยาเขียนเป็นความจริงทุกประการ
                                                                 (นายอารยะ ราชธารินทร์)
                                                                            ผู้ปกครอง


ตัวอย่าง
 จดหมายถึงญาติผู้ใหญ่

                                                                                                                      โรงเรียนเลิศวิทย์ อ.ปากเกร็ด
                                                                                                                       จ. นนทบุรี ๑๑๑๒๐

                                                                    ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐

กราบเท้าคุณพ่อคุณเเม่ที่เคารพรักอย่างสูง
         
          ผมได้รับเงิน ๕๐๐ บาท ที่คุณพ่อกรุณา ๒๐๐ บาท ส่วนอีก ๓๐๐ บาท ผมนำมารวมไว้ในค่าใช้จ่ายประจำวันครับ
          ผมจะเล่าเรื่องการไปเที่ยวเขาเขียวที่จังหวัดชลบุรรีให้คุณพ่อคุณเเม่ฟังนะครับ คณะของเราออกเดินทางจากโรงเรียนตั้งเเต่ ๖ โมงเช้า เพื่อมุ่งหน้าไปจังหวัดชลบุรี อาจารย์ผู้ดูแลบอกเราว่า การที่เราออกเดินทางเเต่เช้านี้เพราะรถไม่ติด เเละเราจะได้ถือโอกาสดูพระอาทิย์เเรกขึ้นด้วย
          เราไปถึงชลบุรี ๗ โมงกว่าๆ เราแวะกินข้าวเช้ากันที่ตลาดหนองมน หลังจากนั้น เราก็มุ่งหน้าไปเขาเขียวซึ่งเป็นสวนสัตว์เปิดเลยทีเดียว
          ที่เรียกว่าสวนสัตว์เปิดนั้น คงเป็นเพราะเขาไม่ได้จับสัตว์ขังไว้ในกรงเหมือนเขาดินวนา เเต่เขาปล่อยให้สัตว์ดำรงชีวิตค่อนข้างเสรีอยู่ในพื้นที่กว้างขวาง อย่างนกก็ทำกรงใหญ่มากๆ เป็นตาข่ายคลุมไว้เท่านั้น ข้างในตาข่ายก็มีต้นไม้และธรรมชาติต่างๆ เหมือนในป่า ผมได้เห็นหมีตัวใหญ่กำลังสอนลูกของมันให้ตะปบเหยื่อ ผมยังคิดถึงแมวที่บ้านเราเลยครับ เเมวมันสอนลูกของมันให้จับหนูอย่างนี้เลยครับ
          ขากลับผมเพิ่งสังเกตเห็นสองข้างทางบริเวณเขาเขียว มีต้นไม้ร่มครึ้มพอสมควร อาจารย์เล่าว่าสมัยก่อนต้นไม้มีมากกว่านี้อีก ผมคิดว่าถึงเวลาที่เเล้วที่คนไทยจะต้องช่วยกันรักษาป่าและสัตว์ป่า เพราะที่ไหนมีต้นไม้ ที่นั่นก็มีอากาศบริสุทธิ์สดชื่นดีจริงๆ เลยครับ
          ผมต้องกราบขอบพระคุณคุณพ่ออีกครั้งที่กรุณาให้ผมไปทัศนศึกษาในครั้งนี้ ทำให้ผมได้เห็นสิ่งแปลกๆ และได้พบธรรมชาติอันน่าหวงแหนของเราครับ
                                         
                                                                     ด้วยความเคารพอย่างสูง
                                                                        ภาณุวัฒน์ กีรติกุญชร

ตัวอย่าง จดหมายถึงเพื่อน

                                                                                                              ๖๓ หมู่ ๑ ต.ตาคลี
                                                                                                               อ. ตาคลี จ.นครสวรรค์
                                                                                                               ๖๐๑๔๐

                                                                       ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๐

กบเพื่อนรัก

         ปีใหม่นี้คิดว่าจะได้เจอกบที่บ้าน เลยไม่ได้เขียนจดหมายมาก่อน แต่เมื่อไปที่บ้านกบแล้วจึงทราบว่า กบมีกิจกรรมที่ต้องทำอยู่กรุงเทพฯ เราเลยเขียนจดหมายมาเพื่อจะถือโอกาสสวัสดีปีใหม่ด้วย
         เราได้รับจดหมายจากแหววเมื่อวานนี้เอง แหววเล่าว่าเขาเขียนเรียงความเรื่อง "พ่อของลูก" ได้รับรางวัลที่ ๑ ด้วยนะ เราก็อดคิดถึงกบไม่ได้ เพราะกบเขียนเรียงความเก่งไม่เเพ้เเหวว ไม่รู้ว่าจะไปเป็ฯที่หนึ่งในกรุงด้วยหรือเปล่า
         ตอนนี้เเถวบ้านเรามีรถบรรทุกพืชไร่วิ่งกันทั้งวันทั้งคืน ฝุ่นค่อนข้างมาก เเต่มันก็เป็นสิ่งจำเป็นที่พวกเราต้องอดทนกันมานาน กบคงไม่ต้องเจอฝุ่นอย่างบ้านเราใช่ใหม เเต่ที่กบเคยเล่าว่ากรุงเทพฯ ไม่มีฝุ่นมากอย่างบ้านเราก็จริง แต่มีสิ่งที่น่ากลัวกว่านั้น คือ มีควันจากท่อไอเสียไง เราก็เลยพยายามปลอบใจตัวเองว่าถึงบ้านเราจะมีฝุ่นเเต่ก็เป็นฝุ่นที่มีอันตรายน้อย
         เรายังไม่มีอะไรจะเล่ามากนั้น ช่วงนี้ก็เตรียมตัวดูหนังสือสอบ เพราะจะต้องสอบระหว่างภาคในอีกไม่กี่วันนี้เเล้ว เราหวังว่ากบก็คงกำลังเตรียมตัวอย่างหนักใช่ไหม กบเคยบอกเราว่า กบต้องพยายามเรียน เพราะเรามาจากต่างจังหวัดอย่าให้ใครดูถูกได้ใช่ไหม
         สุดท้ายนี้ เราขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย โปรดดลบันดาลให้กบมีความสุข เรียนเก่ง และสอบได้คะเเนนดีๆ นะจ๊ะ

                                                                                                      รักและคิดถึง
                                                                                                    ยลรตี สิริวรวิทย์



ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ภาษาไทย ป.๖. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์

 อ้างอิงhttp://www.trueplookpanya.com/learning/detail/2619

บทที่3คำประพันธ์

เรื่อง การแต่งคำประพันธ์


ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้


การแต่งคำประพันธ์


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแต่งคำประพันธ์
คำประพันธ์ คือ ถ้อยคำที่เรียงร้อยโดยมีลักษณะบังคับ คำสำคัญที่ควรรู้ในการแต่งคำประพันธ์ ได้แก่
๑. คำ คำประพันธ์นับคำด้วยจำนวนพยางค์ เช่น ชีวิต มี ๒ พยางค์ นับเป็น ๒ คำ
๒. คณะ คือ จำนวนคำบังคับในคำประพันธ์แต่ละประเภท
๓. สัมผัส คือ คำที่คล้องจองกัน มี ๒ ประเภท ได้แก่ สัมผัสนอก และสัมผัสใน
     ๓.๑ สัมผัสนอก เป็นสัมผัสบังคับหรือสัมผัสสระอยู่ระหว่างวรรค ระหว่างบาท และระหว่างบท

     รู้วิชาก็ให้รู้เป็นครูเขา       จึ่งจะเบาแรงตนเร่งขวนขวาย
มีข้าไทใช้สอยค่อยสบาย       ตัวเป็นนายโง่เง่าบ่าวไม่เกรง                
การวิชาหาประดับสำหรับร่าง   อย่าเอาอย่างหญิงโกงที่โฉงเฉง
การมิดีที่ชั่วจงกลัวเกรง         อย่าครื้นเครงขับร้องคะนองใจ

          – สัมผัสนอก ได้แก่ เขา-เบา / (ขวน) ขวาย-สบาย-นาย / ร่าง-อย่าง / (โฉง) เฉง-เกรง-(ครื้น) เครง
          – สัมผัสระหว่างบท ได้แก่ เกรง-(โฉง) เฉง
     ๓.๒ สัมผัสใน เป็นสัมผัสในวรรค ไม่ใช่สัมผัสบังคับแต่ถ้ามีจะทำให้ไพเราะขึ้น ได้แก่ สัมผัสสระ (คำที่มีเสียงสระและมาตราตัวสะกดเดียวกัน) และ สัมผัสพยัญชนะ (คำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเดียวกัน) เช่น

     ถึงหน้าแพแลเห็นเรือที่นั่ง           คิดถึงครั้งก่อนมาน้ำตาไหล
เคยหมอบรับกับพระจมื่นไวย            แล้วลงในเรือที่นั่งบัลลังก์ทอง
     เคยทรงแต่งแปลงบทพจนารถ       เคยรับราชโองการอ่านฉลอง
จนกฐินสิ้นแม่น้ำแลลำคลอง             มิให้ข้องเคืองขัดหัทยา
                                                                                         (นิราศภูเขาทอง: สุนทรภู่)

– สัมผัสพยัญชนะ เช่น หมอบ-(จ) มื่น / แล้ว-ลง / รับ-ราช / โอง-อ่าน / แล-ลำ / ข้อง-เคือง
๔. คำเป็น คำตาย
คำเป็น คือ คำที่สะกดด้วยแม่กง กน กม เกย และเกอว หรือคำในแม่ ก กา ที่มีสระเสียงยาว หรือคำสระอำ ใอ ไอ เอา คำตาย คือ คำที่สะกดด้วยแม่กก กด และกบ หรือคำในแม่ ก กา ที่มีสระเสียงสั้น
๕. คำเอก คำโท ใช้แต่งโคลง คำเอก คือ คำที่ใช้รูปวรรณยุกต์เอก ใช้คำตายแทนได้ คำโท คือ คำที่ใช้รูปวรรณยุกต์โท

กระบวนการแต่งคำประพันธ์
๑. ศึกษาลักษณะบังคับของคำประพันธ์ที่จะแต่ง และกำหนดจุดมุ่งหมายการแต่ง
๒. เขียนโครงร่างตั้งแต่ต้นจนถึงสรุป รวมทั้งคิดคำสำคัญ
๓. แต่งคำประพันธ์ให้ถูกลักษณะบังคับ และเลือกคำที่สื่อความชัดเจน
๔. แต่งเสร็จแล้วลองอ่านออกเสียงเพื่อตรวจความถูกต้องและไพเราะ ถ้าแต่งผิดข้อบังคับหรือไม่ไพเราะ ให้ปรับแก้จนกว่าจะไพเราะ

การแต่งกาพย์
กาพย์ ๕ ชนิดที่นิยมแต่ง ได้แก่ กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์ กาพย์ห่อโคลง และกาพย์ขับไม้ห่อโคลง ในที่นี้จะศึกษาเฉพาะกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
๑. กาพย์ยานี ๑๑ มักใช้แต่งบทสวด บทเห่เรือ พรรณนาความโศกเศร้าหรือบรรยายธรรมชาติ 

กาพย์ยานี ๑๑

กาพย์ยานี ๑๑


กลวิธีการแต่ง ไม่ใช้คำที่ออกเสียงเหมือนกันเป็นคำส่ง–คำรับ และไม่ใช้คำคร่อมจังหวะการอ่าน เช่น ยังอา/ทรถึงเจ้า
๒. กาพย์ฉบัง ๑๖ มักใช้แต่งพรรณนาเรื่องต่าง ๆ เช่น บทสวด บทพากย์โขน 

กาพย์ฉบัง ๑๖   

กาพย์ฉบัง ๑๖


กลวิธีการแต่ง อาจเพิ่มสัมผัสในในแต่ละวรรค หรือเพิ่มสัมผัสระหว่างวรรค ๒ กับวรรค ๓ และอาจใช้เครื่องหมายยัติภังค์แยกคำระหว่างวรรคได้ แต่ห้ามใช้ระหว่างบท
๓. กาพย์สุรางคนางค์


กาพย์สุรางคนางค์


กาพย์สุรางคนางค์


กลวิธีการแต่ง เพื่อให้แบ่งวรรคอ่านได้ง่าย ควรแต่งด้วยคำโดด ๒ พยางค์ และหากใช้เสียงจัตวาในคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ จะทำให้ไพเราะขึ้น

สรุป
“กาพย์” เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งที่แต่งไม่ยาก ผู้แต่งกาพย์ต้องมีความรู้ทั่วไปในการแต่งคำประพันธ์ รู้กระบวนการแต่ง และรู้ข้อบังคับของกาพย์ชนิดที่จะแต่ง เพื่อให้แต่งได้ถูกต้องและไพเราะ

คำสำคัญ  คำประพันธ์  คณะ  สัมผัส  คำเป็น  คำตาย





อ้างอิงhttp://www.trueplookpanya.com/learning/detail/31461/044059

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บทที่2เรื่องร้อยกรอง

                                            

                          เรื่องหลักการเขียนบทร้อยกรอง


หลักและวิธีการเเต่งบทร้อยกรอง
ร้อยกรองเป็นมรดกทางภาษาที่คนไทยควรภาคภูมิใจ และอนุรักษ์ไว้ร้อยกรองมีลักษณะบังคับที่เรียกว่า “ฉันทลักษณ์” มีความเเตกต่างกันตามลักษณะของร้อยกรองทั้ง ๕ ประเภท ได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย
ลักษณะบังคับของบทร้อยกรอง มี ๙ ประการ ดังนี้








๑. พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ การนับพยางค์ขึ้นกับลักษณะบังคับของบทร้อยกรอง
๒. คณะ คือ ข้อกำหนดของบทร้อยกรองแต่ละประเภทว่าจะต้องมีจำนวนคำ จำนวนวรรค จำนวนบาท และจำนวนบทเท่าหมด เช่นกลอนแปด
๑ บท มี ๒ บาท
๑ บาท มี ๒ วรรค
๑ วรรค มี ๘ คำ (อาจมี ๗-๙ คำก็ได้)
กาพย์ยานี
๑ บท มี ๒ บาท
๑ บาท มี ๒ วรรค
วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ
ตัวอย่าง กลอนเเปด
ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
เเม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา
สุนทรภู่
๓. สัมผัส คือ ลักษณะบังคับให้ใช้คำคล้องจองกันมี ๔ ชนิด ได้แก่
๑. สัมผัสสระ คือ คำที่ใช้สระคล้องจองเป็ฯเสียงเดียวกัน และถ้ามีตัวสะกดมาตราเดียวกัน เช่น
สระอา มา-จา-ฝา-หา-ป่า
สระโอะ สะกดแม่กน จน-คน-ฝน-หน-ป่น
สระอา สะกดเเม่เกย กราย-ชาย-ลาย-หาย-อาย
๒. สัมผัสพยัญชนะหรือสัมผัสอักษร คือ คำที่ใช้พยัญชนะต้นตัวเดียวหรือเสียงเดียวกัน โดยไม่คำนึงถึงตัวสะกด
เช่น จ – จิต ใจ จด จอด แจ๋ว
ด – เด็ก ดื่น ดึก ดื่ม ดาว
น – นก นอน แนบ น้ำ นิ่ง
๓. สัมผัสนอก คือ สัมผัสบังคับของร้อยกรองทุกประเภท เป็นคำที่มีเสียงคล้องจองจากวรรคหนึ่ง ใช้เเต่สัมผัสสระไม่ใช้สัมผัสอักษร
เช่น มาถึงบางธรณีทวีโศก ยามวิโยคยากใจให้สะอื้น
โอ้สุธาหนาเเน่นเป็นแผ่นพื้น ถึงสี่หมื่นสองเเสนทั้งเเดนไตร
เมื่อเคราะห์ร้ายกายเราก็เท่านี้ ไม่มีที่พสุธาจะอาศัย
ล้วนหนามเหน็บเจ็บเเสบคับเเคบใจ เหมือนนกไร้รังเร่อยู่เอกา ฯ
สุนทรภู่
๔. สัมผัสใน คือ คำที่มีเสียงสระหรือเสียงพยัญชนะคล้องจองในวรรคเดียวกัน ทำให้บทร้อยกรองไพเราะ เช่น
จักจั่นเเจ้วเเว่วหวีดจังหรีดหริ่ง ปี่แก้วตริ่งตรบเสียงสำเนียงหนาว
ยิ่งเย็นฉ่ำน้ำค้างลงพร่าวพราว พระพายผ่าวพัดไหวทุกใบโพธิ์
สุนทรภู่
สัมผัสสระ เเจ้ว-แว่ว, หวีด-หรีด, เสียง-เนียง, ฉ่ำ-น้ำ, ไหว-ใบ
สัมผัสอักษร จัก-จั่น-เเจ้ว, หวีด-หริ่ง, ยิ่ง-เย็น, พร่าว-พราว
คำครุ-ลหุ คือ คำที่ที่เสียงหนักและเสียงเบา บังคับใช้ในบทร้อยกรองประเภทฉันท์
คำครุ มี ๓ ลักษณะ ดังนี้
๑. คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในเเม่ ก กา เช่น เเม่จ๋า ฟ้าใส
๒. คำที่มีตัวสะกด เช่น เด็กน้อย เขียนอ่าน
๓. คำที่ประสมด้วย อำ ไอ ใอ เอา เช่น ขำ ได้ ให้ เขา
คำลหุ คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในเเม่ ก กา
เช่น กระทะ กะทิ ปะทุ สติ อริ กระบะ ขยะ
ตัวอย่าง คำประพันธ์ที่บังคับครุ ลหุ
เเสงสูรย์สาดส่องเเสง จรัสเเจ้งจรูญตา
เทียนทองส่องทาบฟ้า ประโลมหล้าภิรมย์ชม
ชวนคิดให้ไตร่ตรอง นราผอง ณ ยามตรม
ตกอับทุกข์ทับถม บ ฝังจมเสมอไป
ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา
๕. คำเอก คำโท คือ คำหรือพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอกและโท ในตำแหน่งที่กำหนดไว้ในบทร้อยกรองประเภทโคลง และร่าย
– คำเอก คือ คำหรือพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอก
– คำโท คือ คำหรือพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์โท
๖. คำเป็น คำตาย เป็นลักษณะบังคับที่ใช้ในการเเต่งโคลง และร่าย โดยเฉพาะโคลงสี่สุภาพ
คำเป็น มี ๓ ลักษณะ คือ
๑. คำหรือพยางค์ที่ประสมสระเสียงยาวในเเม่ ก กา
๒. คำที่มีตัวสะกดในมาตราเเม่ กง กน กม เกย เกอว
๓. คำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา
คำตาย มี ๒ ลักษณะ คือ
๑. คำที่ประสมสระเสียงสั้นในเเม่ ก กา
๒. คำที่มีตัวสะกดในมาตราแม่ กก กด กบ
๗. เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา ในการเขียนกลอนต้องรู้ว่าคำท้ายวรรคใดนิยมใช้หรือไม่นิยมใช้เสียงวรรณยุกต์ใด สำหรับโคลงสี่สุภาพมีการบังคับเอกโทด้วย เช่น
เดินไพรชมหมู่ไม้ มากมี
พักผ่อนอารมณ์ดี ใช่น้อย
บุฟผากลิ่มรมณีย์ เเสนชื่น
ยามบ่ายตะวันคล้อย ร่มแท้ราวไพร
จตุภูมิ วงษ์แก้ว
๘. คำนำ คือ คำขึ้นต้นสำหรับร้อยกรองบางประเภท
กลอนบทละคร คำว่า เมื่อนั้น บัดนั้น
ตัวอย่าง บัดนั้นพระยาเภกพิยักษี
เห็นพระองค์ทรงโศกโศกี
กลอนดอกสร้อย คำว่าเอ๋ย (เป็นคำที่ ๒ ของวรรคเเรก)
ตัวอย่าง เด็กเอ๋ยเด็กน้อย
ความรู้เรายังด้อยเร่งศึกษา
กลอนเสภา คำว่า ครานั้น
ตัวอย่าง ครานั้นท่านยายทองประศรี
กับยายปลียายเปลอยู่เคหา
นิทานคำกลอน ไม่บังคับ

เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ภาษาไทย ป.๖. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ข้อสอบหลังเรียน

   ข้อสอบหลังเรียน  : วิชาภาษาไทยม.1  1.  ข้อใดจัดเป็นภาษาปาก    1. ในคอมมีอะไรให้ดูเยอะแยะ    2. การดื่มสุรามากๆ ไม่ด...